วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2552

เมนูต้องห้ามของสุนัขที่คนรักสุนัขควรรู้

ชิสุห์



โกเด้น








อาหารเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้สุนัขของคุณมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง และมีชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ มีอายุยืนยาว ดังนั้นการให้อาหารแก่สุนัข ผู้เลี้ยงจึงจำเป็นต้องพิถีพิถันอยู่บ้าง ผู้เลี้ยงหลายคนนิยมให้อาหารสำเร็จรูป เพราะสะดวกสบายไม่ต้องเสียเวลาในการเตรียมอาหารสดให้ ยุ่งยาก เพราะกว่าจะครบถ้วนด้วยสารอาหารก็จะต้องมีทั้ง ข้าว ตับ และผัก การใช้อาหารเม็ด หรืออาหารกระป๋องดูจะง่ายและให้สารอาหารแก่สุนัขอย่างครบถ้วนมากกว่า อีกทั้งอุจจาระของสุนัขยังแข็งเป็นก้อนง่ายต่อการเก็บทำความสะอาดอีกด้วย แต่ก็มีผู้เลี้ยงบางกลุ่มนิยมให้อาหารสุนัขตามแต่ความต้องการของตนเอง โดยผู้เลี้ยงเข้าใจผิดว่า สุนัขมีความต้องการ และความสามารถในการกินได้เช่นเดียวกับคน ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นความคิดที่ผิด อาหารที่คุณให้อาจย้อนกลับมาทำอันตรายถึงชีวิตแก่สุนัขแสนรักของคุณได้
อาหารต้องห้าม 3 อย่างของสุนัข ที่ผู้เลี้ยงควรหลีกเลี่ยงไม่นำมาให้สุนัขกินได้แก่
กระดูกไก่ ปลาหากไม่จำเป็นคุณไม่ควรให้กระดูกไก่ ปลา ให้เจ้าสุนัขของคุณกินโดยเด็ดขาด แม้ว่าเจ้าสุนัขของคุณจะชื่นชอบอาหารเหล่านี้เพียงใด เพราะ กระดูกไก่ ก้างปลา อาจแตกหักระหว่างที่สุนัขขบเคี้ยวสร้างมุมแหลม และความแหลมนี่เองอาจทิ่มแทงทำอันตรายสุนัขของคุณได้ ผู้เลี้ยงหลายคนให้เหตุผลในการให้อาหารเหล่านี้แก่สุ นัขว่า ต้องการให้แคลเซียมแก่สุนัข ซึ่งความจริงแล้วผู้เลี้ยงสามารถให้เม็ดแคลเซียม หรือนมอุ่นๆแก่สุนัขแทนได้
ทั้งนี้หมายรวมถึงอาหารที่มีลักษณะเป็นของมีคมขนาดเล ็กอื่นๆ เช่น ส่วนหางของกุ้ง เพื่อนของผู้เขียนเคยสูญเสียสุนัขจากกรณีดังกล่าวมาแ ล้ว เนื่องจากไปเที่ยวทะเลซื้ออาหารทะเลมารับประทานที่บ้ าน พอเหลือก็นำมาให้สุนัขกินอย่างไม่รู้เท่าทัน ผลปรากฏว่าสุนัขกินส่วนหางของกุ้งเข้าไปติดคอเสียชีวิต
หัวหอมและกระเทียม ไม่ควรให้สุนัขรับประทานในปริมาณมาก เพราะหัวหอมและกระเทียม มีส่วนประกอบของกำมะถันอยู่มาก เพราะฉะนั้นไม่เหมาะแก่การผสมในอาหารให้กับเจ้าตูบ เนื่องจากว่า สารกำมะถันนี้จะทำลายเซลล์เม็ดเลือดแดงของเจ้าสุนัข จะทำให้โรคโลหิตจาง และโรคเลือดไหลไม่หยุดได้
ช็อคโกแลต หลายคนเคยให้ช็อคโกแลตกับสัตว์เลี้ยงของท่าน โดยไม่รู้ว่าช็อคโกแลตเหล่านี้ส่งผลร้ายต่อสุนัข สาเหตุเพราะช็อคโกแลตมีส่วนประกอบของสารชนิดหนึ่งชื่ อว่า theobromine ซึ่งเป็นกลุ่มเดียวกับ สารพวก caffeine(ซึ่งมีในพวกกาแฟ โกโก้) สาร theobromine นี้เมื่ออยู่ในร่างกายมันจะมีฤทธิ์หลายอย่าง แต่ที่เห็นเด่นๆชัด คือ จะกระตุ้นให้มีการหลั่งสารที่เรียกกันว่า adrenaline ซึ่งสารตัวนี้จะมีผลทำให้หัวใจเต้นเร็ว เหงื่อออกมาก ถ้ากินมากๆอาจถึงขั้นเป็นพิษได้จะทำให้เกิด อาการ อาเจียน ท้องเสีย หายใจถี่ ฉี่บ่อย กระวนกระวาย และในที่สุดก็ถึงตายได้ มีรายงานในสุนัขบอกว่า ในสุนัขที่น้ำหนักไม่เกิน 5 กก. กินเข้าไปแค่ 400 มก. ก็สามารถแสดงความเป็นพิษได้ การที่สุนัขค่อนข้างจะไวต่อความเป็นพิษของ theobromine นั้นเป็นเพราะว่าร่างกายของมันไม่สามารถที่จะกำจัด theobromine ออกจากร่างกายได้รวดเร็วเหมือนกับสัตว์ชนิดอื่น ตามปกติช็อคโกแลตที่ขายในท้องตลาด ถ้าเป็นแบบหวานจะมี theobromine อยู่ประมาณ 1.5 มก ต่อ ซีซี แต่ถ้าเป็นแบบไม่หวานจะมีประมาณ 13 มก. ต่อ ซีซี
ที่มา: http://www.bloggang.com/

วิธีการดูแลสุนัขหน้าร้อน



ร้อนจริง ร้อนจัง อากาศร้อนช่วงเมษานี้กลางวันร้อนมากถึง 40-41 องศาแบบนี้ ต้องดูแลโกลเดนกันมากหน่อยเป็นพิเศษ เนื่องจากเป็นหมาขนยาวที่มีโอกาสเกิดอาการฮีทสโตรก Heatstroke ที่อาจมีอันตรายถึงชีวิตได้ง่ายกว่าหมาพันธุ์อื่นๆ ร่างกายของน้องหมาจะระบายความร้อนทาง


ปากและลิ้นและที่อุ้งเท้าโดยไม่มีต่อมเหงื่อตามรูขุมขนตามผิวหนังเหมือนคนเรา ดังนั้นจึงไม่ต้องแปลกใจหากน้องหมาทำลิ้นห้อยอยู่ตลอดเวลาและบางครั้งก็เอาเท้าจุ่มน้ำก็ปล่อยให้ทำไปเพราะเป็นการระบายความร้อนโดยธรรมชาติ อาการฮีทสโตรกเกิดจากร่างกายไม่สามารถปรับตัวได้กับอากาศร้อนได้ทัน การวิ่งออกกำลังกายมากๆในช่วงอากาศร้อน หรืออาการขาดน้ำที่เพียงพอ หรืออยู่ในที่ที่มีอากาศร้อนสูงกว่าอุณหภูมิของร่างกายเป็นเวลานานๆ ร่างกายไม่สามารถปรับระบบระบายความร้อนได้ทัน โดยปกติอุณหภูมิของน้องหมาจะอยู่ที่ 38-39 องศาเซลเซียส หากอุณหภูมิร่างกายสูงถึง 40 องศาที่เกิดจากอากาศไม่ใช่เกิดจากอาการไข้ติดเชื้อก็จะมีอาการหายใจแรง หอบ น้ำลายเยอะมาก เหงือกแดงมาก หัวใจเต้นเร็ว หายใจลำบาก อาเจียนออกเป็นเลือด ถ่ายเป็นเลือด มีจุดแดงตามร่างกาย กล้ามเนื้อกระตุก อุณหภูมิร่างกายสูง จนเกิดอาการชัก หยุดหายใจและตายได้ ซึ่งจะมีผลทำให้อวัยวะต่างๆได้รับผลกระทบดังนี้

เซลล์ระบบประสาทถูกทำลาย มีเลือดออกที่สมอง

ระบบหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

เยื่อบุลำใส้ขาดเลือดและเป็นแผล อาจเกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดได้

ตับและท่อน้ำดี เซลล์ตับตาย

ระบบขับถ่ายผิดปกติ ทำให้เกิดโรคร้ายแรงเฉียบพลันได้

เลือดเข้มข้นเกินไป เกล็ดเลือดต่ำ ระบบเลือด น้ำเหลือง และภูมิคุ้มกัน

บกพร่อง มีผลต่อการแข็งตัวของเลือด

เกิดการอักเสบของกล้ามเนื้อที่ขาดเลือดและน้ำหล่อเลี้ยงเพียงพอ

เมื่อมีอาการเช่นนี้ต้องพาไปหาแพทย์โดยเร็วที่สุด การปฐมพยาบาลก่อนนำพบแพทย์ทำได้โดยการลดอุณหภูมิร่างกายลงโดยการนำน้ำมาชโลมให้ทั่วทั้งร่างกายหรือทำให้น้องหมาชุ่มน้ำ ใช้สารระเหยทำให้เกิดความเย็นเช่นแอลกอฮอล์เช็ดบริเวณอุ้งเท้า ใต้รักแร้ และบริเวณขาหนีบ เปิดพัดลมช่วยถ่ายเทความร้อน
การป้องกันคือสิ่งที่ดีที่สุดเราสามารถทำได้โดย
ต้องมีน้ำให้กินตลอดเวลาไม่ให้ขาด
ไม่พาออกกำลังกายในช่วงบ่ายหรือเวลาที่อากาศร้อนจัด
หาที่ร่มหรือที่หลบแดดมีอากาศถ่ายเทให้อยู่ในช่วงกลางวัน
เมื่อไปไหนกับน้องหมาไม่ให้เก็บไว้ในรถโดยเด็ดขาด หรือถ้าจำเป็นต้องจอดในที่ร่มมีอากาศถ่ายเทได้ เปิดกระจกออกให้มีอากาศระบายและมีน้ำดื่มไว้ให้ด้วย มีน้องหมาจำนวนมากที่ตายโดยที่เจ้าของคิดว่าไปไม่นานและเป็นสาเหตุที่ใหญ่สุดที่เจอบ่อยที่สุด
การให้อาหารในตอนเย็นต้องให้หลังจากแดดร่มแล้วหรือยืดเวลาออกไปให้หลังพระอาทิตย์ตก เนื่องจากน้องหมาจะไม่กินอาหารหากอากาศร้อน
อาบน้ำให้หรือราดน้ำให้ทั่วและเช็ดตัวให้หมาดๆ ปล่อยให้แห้งเองโดยไม่ต้องไดร์
อาจใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำหมาดๆปูให้นอนในช่วงกลางวัน แต่ต้องเอาออกในช่วงกลางคืนป้องกันปอดบวม
ใช้พัดลมเป่าหรือให้อยู่ในห้องแอร์เลย
การที่น้องหมาจะกลับมาหายดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับว่าอวัยวะถูกทำลายลงไปมากน้อยเพียงไร ดังนั้นเราควรป้องกันไว้ก่อนที่จะเกิดอาการเช่นนี้ เพราะไม่มีอะไรที่จะดีไปกว่า “กันไว้ดีกว่าแก้”


ไฮเปอร์เทอเมีย Hyperthermia หรือ ฮีทสโตรก Heat Stroke คือ อาการที่อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้น เนื่องจากร่างกายได้รับความร้อนจากภายนอกมากขึ้น หรือเนื่องจากร่างกายเกิดความร้อนภายในมากขึ้น หรือเนื่องจากการระบายความร้อนออกจากร่างกายน้อยลง สาเหตุ- สาเหตุสำคัญก็คือการที่อากาศภายนอกร้อนจัดเป็นเวลานาน- เกิดจากให้สัตว์ออกกำลังกายมากเกินไป โดยเฉพาะเมื่อขณะมีความชื้นในอากาศสูง- สัตว์อ้วนเกินไป- สัตว์มีขนดก หนา และจำเป็นต้องอยู่ในที่ที่การระบายอากาศไม่ดีพอ เช่น การขนส่งสัตว์โดยทางเรือ- เนื่องจาก Dehydration ซึ่งทำให้การระบายอากาศโดยการระเหยของน้ำในเนื้อเยื่อต่างๆ ลดลง- การให้ยาสงบประสาท กับสัตว์ในขณะที่มีอากาศร้อน จะทำให้เกิด ไฮเปอร์เทอร์เมียได้ Metabolic rate จะสูงขึ้นประมาณ 40-50% Glycogen ที่เก็บสะสมไว้ในตับจะถูกนำมาใช้ไปอย่างรวดเร็ว และพลังงานพิเศษของร่างกายจะได้มาจากการเพิ่ม Protein metabolism สูงขึ้น เนื่องจาก Hyperthermia ทำให้สัตว์ปากแห้ง และการทำงานของระบบการหายใจผิดไป จึงทำให้เกิดการเบื่ออาหาร ซึ่งมีผลทำให้น้ำหนักตัวลดลง และกล้ามเนื้อขาดพลัง เกิดภาวะ hypoglycemia และ non-protein nitrogen ในเลือดสูงสัตว์จะกระหายน้ำเนื่องจากปากแห้ง อัตราการเต้นของหัวใจสูงขึ้นเนื่องจากอุณหภูมิของเลือดสูงขึ้น และเนื่องจากความดันเลือดตกอันเป็นผลมาจากการขยายตัวของเส้นเลือดส่วนปลาย อัตราการหายใจสูงขึ้นเนื่องจากการที่อุณหภูมิสูงขึ้นจะไปมีผลต่อ respiratory centre ปัสสาวะจะลดน้อยลงเนื่องจากจำนวนเลือดที่ผ่านไตน้อยลง อันเป็นผลสือเนื่องมาจากการขยายตัวของเส้นเลือดส่วนปลายเมื่อเกิด Hyperthermia ถึงขั้นอันตรายสูงสุด จะมีผลคือระบบประสาทจะถึงขั้นอันตรายสูงสุด จะมีผลคือระบบประสาทจะถูกกดการทำหน้าที่ตามปกติของมัน และระบบการหายใจก็จะถูกกดเช่นเดียวกันอันเป็นผลทำให้สัตว์ตาย เนื่องจากกการล้มเหลวของระบบการหายใจ ระบบการไหลเวียนของเลือดก็จะล้มเหลวเช่นกัน เนื่องจากกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนกำลำง ถ้าภาวะ Hyperthermia ไม่สูง และนานเกินไปก็จะมีผลกระทบกระเทือนต่อ metabolism ภายในร่างกายเท่านั้น และมักจะเกิด degenerative changes ของเนื้อเยื่อต่างๆ ด้วย อาการอาการที่สัตว์แสดงให้เห็นในระยะแรกๆ ก็คืออุณหภูมิของร่างกายสูงขึ้นกว่าปกติ อัตราการเต้นของหัวใจ และการหายใจจะเพิ่มขึ้น ชีพจรอ่อนลง ในระยะแรกจะมีเหงื่อออกมาก แต่ระยะต่อไปจะไม่มีเหงื่อออกมาเลย น้ำลายไหล กระวนกระวายต่อมาก็จะเริ่มซึม เดินโซเซ ในระยะแรกสัตว์จะกระหายน้ำจัด และจะพยายามอยู่ในที่เย็น เช่นนอนแช่น้ำ ต่อมาเมื่ออุณหภูมิของร่างกายสูงถึง 106 F. จะถึงขั้นหายใจหอบ ต่อจากนั้นจะหายใจตื้นไม่เป็นจังหวะ ชีพจรเร็วมาก และอ่อน สุดท้ายถึงขั้น collapse ชัก และโคม่า ส่วนมากสัตว์ทุกชนิดตายเมื่ออุณหภูมิในร่างกายสูงถึง 107-109 F. ส่วนสัตว์ท้องอาจจะแท้งได้ถ้าระยะเวลาที่เกิด Hyperthermia นานการวินิจฉัยโรคต้องแยกให้ออกระหว่าง Hyperthermia กับ อาการไข้ และโลหิตเป็นพิษ (Septicemia) สำหรับโลหิตเป็นพิษจะพบมีจุดเลือดออกที่ muscous membrane และบางครั้งพบที่ผิวหนังด้วย และในการเพาะเชื้ออาจจะพบแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคนอกจากนี้การตรวจ และสังเกตสิ่งแวดล้อมมีส่วนช่วยอย่างมากในการหาสาเหตุของ Hyperthermiaการรักษาใช้วิธีประคบเย็น(cold applications) จะได้ผลดีนอกจากนี้การให้ยาพวกซาลิซีเอท (Salicyate) เช่น แอสไพริน ก็ช่วยได้มากในกรณีเช่นนี้ โดยให้กินสำหรับม้า และโคให้ในขนาด 8-60 กรัม สุกร 1-3 กรัม สุนัข 0.3-1 กรัม นอกจากนี้ควรให้ยาสยบประสาท (Tranqulizing drugs) เช่น Largactil (chlorpromazine hydrochloride) เพื่อระงับอาการกระวนกระวาย นอกจากนั้นควรให้ยาช่วยประกอบการรักษาด้วย เช่นการฉีดกลูโคส และโปรตีน และให้สัตว์ป่วยอยู่ในที่ร่ม มีการระบายอากาศดี มีน้ำให้กินเพียงพอ

วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2552

chow chow




เชา เชา (chow chow)


เป็นสุนัขสายเลือดเก่าแก่มาก มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนตั้งแต่เมื่อหลายพันปีก่อนโดยมีรูปปรากฏอยู่บนภาพเขียนสมัยราชวงศ์ฮั่น เป็นหลักฐานยืนยัน ในสมัยนั้น เชา เชา ถูกใช้เป็นสุนัขอเนกประสงค์ นอกจากจะใช้เฝ้าบ้าน หรือเฝ้ากองคาราวาน และกองเรือ เชา เชา เป็นสุนัขขนาดปานกลาง รูปร่างกระชับ มีขนปุกปุยอัดตัวกันแน่น ส่วนสูงเฉลี่ย 46 เซนติเมตร หนัก 20-25 กิโลกรัม หัวใหญ่แบนและกว้าง ปากยาวปานกลาง จมูกสีดำหรือน้ำตาล ค่อนข้างเล็ก หูเล็กป้อม หางเป็นพวงใหญ่ม้วนตวัดเหนือหลัง ตาเล็กและดำ ริมฝีปากเหลืองและ เพดานมีสีดำ ลิ้นเป็นสีดำอมม่วง เชา เชา เมื่อโตแล้วจะมีใบหน้าย่นบึ้ง
เป็นลักษณะเด่นประจำตัว เชา เชา เป็นสุนัขที่เงียบมากเห่านับครั้งได้ และส่วนใหญ่เห่าเพื่อเตือนให้ระวังภัย มีนิสัย ซื่อสัตย์ เก็บตัวและขรึม ชอบมีนายคนเดียว เชื่อกันว่าเป็นสายพันธุ์ที่เป็นหนึ่งในต้นแบบของเชา เชา ได้แก่ ชิสุ ชาเป่ย ปักกิ่ง (พันธุ์สุนัข) ปั๊ก และเชา เชา ได้พูดถึงสุนัขพันธุ์ เชา เชา ว่าเป็นสุนัขที่ซึ่ง ยังมี่จุดกำเนิดของการสร้างสายพันธุ์ที่ไม่ค่อยชัดเจน หรือไม่สามารถจัดให้เข้ากลุ่มอื่นๆ ได้สุนัขในกลุ่มนี้ค่อนข้างมีความหลากหลาย แต่เป็นกลุ่มสุนัขที่มีความแข็งแรง มีบุคลิกที่แตกต่างกัน และได้รวมถึงสุนัขสายพันธุ์ ดัลเมเชี่ยน( Dalmatian) เฟร้นช์บูลล์ด๊อก (French Bulldog) และคีชอนด์ (Keeshond) สุนัขในกลุ่มนี้
มีความหลากหลายในหลายๆ เรือง ตั้งแต่ขนาด ขน สีและการแสดงออกทางสีหน้านิสัยของเชา เชาตอนแรกเกิดก็เหมือนสุนัขทั่วไป เปรียบสมือนเด็กที่กำลังคลอดมาใหม่ สุนัข 1 ปีจะเท่ากับอายุของคน 7 ปี เมื่อ เชา เชาเข้าสู้วัยรุ่นจะชอบเรียนรู้และขี้เล่น ขี้อ้อนเจ้าของ เป็นช่วงที่เราควรสอนเรื่องต่างๆ ให้เชา เชา
เมื่อถึงวัยชรา เชา เชา และ สุนัขทุกสายพันธุ์ต้องการความรักและความเอาใจใส่จากเจ้าของ เราจึงต้องให้ความรักและเอาใจใส่ดูแลเป็นอย่างดีและรวมถึงโรคที่จะเกิดขึ้นกับสุนัขวัยนี้ด้วย

ลูกสนัขแสนน่ารัก











สุนัขพันธุ์ชิสุห์

มีถิ่นกำเนิดที่ประเทศธิเบต ปี ค.ศ.1850 ชิสุห์บางตัวจากธิเบต ถูกส่งไปเป็น เครื่องบรรณาการแก่ราชวงศ์แมนจู ชาวจีนเรียกสุนัขเหล่านี้ว่า SHIH TZU KOU แปลว่า สุนัขสิงโต พอสิ้นยุคพระนางซูสีไทเฮา ชิสุห์ก็ถูกทำลายมากมาย แต่ยังมีบางส่วน ที่ถูกนำออกนอกประเทศจีน และกระจาย ไปสู่ประเทศต่าง ๆ ของโลก เช่น อังกฤษและอเมริกา เป็นสุนัขที่มีขนาดเล็ก ขนยาว เป็นมันคล้ายแพรวไหม มีนิสัยที่ร่าเริง รักเจ้าของ กล้าหาญ หัวมีลักษณะกว้าง กลม มีขนาดสมดุล กับขนาดของลำตัว หูจะมีขนาดใหญ่ โคนหูต่ำกว่ายอดหัวกะโหลกเล็กน้อย ตากลมโตนัยน์ตาสีดำ จมูกกว้างเป็นสีดำ ดั้งมีมุมหักที่เห็นได้ชัดเจน ปากจะมีขนาดสั้น ลักษณะเป็นทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส ฟันขบแบบเสมอ ลำตัวจะมีความยาวมากกว่าความสุง เส้นหลังตรงอยุ่ในแนวระดับ คอจะเชิดดูสง่างาม อกจะกว้างและลึก ขาหน้าและขาหลังจะสั้น มีกระดูกใหญ่พอประมาณ มีขนยาว เท้ามีขนาดใหญ่ โคนหางค่อนข้างสูง หางพาดอยู่บนหลังมีขนยาว ขนจะมีสีสองชั้น ขนมีคุณภาพดี แน่น เหยียดตรงหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ไม่หยิก หัวจะมีขนยาว นิยมมัดเป็นจุก ขนจะมีสีอะไรก็ได้ สุนัขพันธุ์ชิสุห์จะมีน้ำหนักประมาณ 9-18 ปอนด์ ส่วนสูงประมาณ 8-11 นิ้ว ข้อบกพร่องของสุนัขพันธุ์ชิสุห์ ก็คือ หัวกะโหลกแคบจะแคบ ตาจะเล็ก ตาสีอ่อน ปากจะยาว จมูกสีชมพู ขนบาง